จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพฤหัสบดีที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2554

หิมะ ในพม่า

       เป็นความใผ่ฝันมาตั่งแต่เด็กๆ ที่อยากจะได้เห็น ได้สัมผัส เกล็ดน้ำแข็งที่เรียกว่า หิมะ  ที่ผมได้เห็น มาจาก ทีวี หนัง สารคดี ต่างๆ แต่ดูเหมือนมันจะไกลเหลือเกิน ที่ผมจะสัมผัสมันได้ในตอนนั้น
       คำถามเกิดขึ้นมาโดยตลอดในใจผม ว่า ทำยังไงผมถึงจะได้เห็นมัน มันมีอยู่ที่ไหนบ้าง แต่ละที่ทำไมมันช่างไกลเหลือเกิน "เอ้ๆ แล้วมันมีอยู่ใกล้ๆบ้านเราบ้างมั๊ย??"  แล้วคำตอบก็ล่วงเลยผ่านมานาน ก็ได้รับ ผมมีโอกาสไปเมืองท่าขี้เหล็ก
ที่อยู่ติดชายแดนไทยที่ อ.แม่สาย จ.เชียงราย ซึ่งมีป้ายโปดเตอร์เล็กๆ นำเที่ยวในเมืองท่าขี้เหล็ก และเืมืองใกล้เคียงอยู่มากมาย ด้วยความที่เราชอบอ่านไปเรื่อย ก็ไปสะดุดตาอยู่ป้ายหนึ่ง เป็นภาพเทือกเขาที่ปกคลุมไปห้วยหิมะขาวโพรน เหมือนกับภาพที่เราคุ้นตา กับสถานที่แนะนำท่องเที่ยวในต่างประเทศต่างๆ แต่พอผมอ่าน(อ่านไม่ออก ดูรูปเอา เป็นภาษาพม่า) และถามเพื่อนที่นั่น ก็ได้รับคำตอบว่า ที่นี่คือ เทือกเขาที่อยู่ทางเหนือของประเทศพม่านี่เอง..



ภาพ http://www.myanmar-explore.com

         ยอดเขาข่ากาโบราซี (Hkakabo Razi) ตั้งอยู่บริเวณตอนเหนือของประเทศพม่าในรัฐกะฉิ่น เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งยอดข่ากาโบราซี มีความสูงถึง 5,881 เมตร บนยอดเขามีหิมะปกคลุมรวมทั้งมีธารน้ำแข็งอีกด้วย ยอดเขาข่ากาโบราซีเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาหิมาลัยทางด้านตะวันออก
         ผู้ไต่ขึ้นถึงยอดเป็นคนแรกที่บันทึกไว้คือ  ทากาชิ โอซากิ(Takashi Ozaki)  ชาวญี่ปุ่น และ นูมา โจเสน(Nyima Gyaltsen) ชาวพม่า เมื่อ 15 กันยายน 1996 ใช้เวลาปีนขึ้นยอดเขา ประมาณ 30 วัน หลังจากนั้นมีผู้พยายามปีนให้ถึงยอดอีก 
หลายคน แต่ก็ยังไม่สำเร็จ บริเวณโดยรอบเป็นป่าไม้อุดมไปด้วยพืชและสัตว์ที่รอการสำรวจอีกม าก รัฐบาลพม่าได้ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติข่ากาโบราซี ตั้งแต่ ตุลาคม 1998 
         ยอดเขา Khakaborazi นี้ก็เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในตะวันออกเฉียงใต้  อันดับสอง  ภูเขาคินาบาลู สูง 4,095.2 เมตร  รัฐซาบาร์ ประเทศมาเลเซีย    อันดับสาม ยอดเขาฟานซีปัน (อังกฤษ: Fan si pan; เวียดนาม: Phan Xi Păng) เป็นภูเขาที่สูงที่สุดในอินโดจีน ด้วยความสูง 3,143 เมตร โดยได้ฉายาว่า หลังคาแห่งอินโดจีน อยู่ในเมืองซาปา จังหวัดลาวก่าย ในประเทศเวียดนาม แฟงซีแปงอยู่บนเทือกเขา Hoang Lien  ,ภูเบี้ย มีความสูงประมาณ 2,820 เมตร แขวงเชียงขวาง สปป.ลาว และดอยอินทนนท์ 2,599 เมตร

                                    ภาพ http://www.myanmar-explore.com
                 ภูเขาข่ากาโปราซี เป็นชื่อเรียกที่มาจากภาษาทะรองและภาษาระวาง คำว่า "ข่ากาโป" หมายถึง แม่ไก่ที่ปกป้องลูกน้อย ซึ่งตรงกับลักษณะการทอดตัวของเทือกเขาลูกนี้ ส่วนคำว่า "ราซี" เป็นภาษาระวางแปลว่า ภูเขา เนื่องจากเทือกเขาแห่งนี้อยู่ในเขตชายแดนระหว่างรัฐคะฉิ่น ทิเบต และมลฑลหยุนหนาน ของประเทศจีน ซึ่งเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์สำคัญ รัฐบาลพม่าจึงจัดเป็น  ส่วนเขตท่องเที่ยวประเภทคือ 
                  “สถานที่ท่องเที่ยวพิเศษซึ่งอยู่ในเขตชายแดน”  เช่น ภูเขาหิมะในเมืองปูเตา รัฐคะฉิ่น หรือเขตนากาชายแดนประเทศอินเดีย และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า โดยเรียกการท่องเที่ยวประเภทนี้ว่า "Eco-Tourism"  ซึ่งจะต้องมีบริษัททัวร์จัดการขอวีซ่าพิเศษและต้องมีมัคคุเทศก์ ติดตามไปด้วย

           ในรัฐคะฉิ่นมี พื้นที่ 34,379 ตารางไมล์ การปกครอง 3 อำเภอ 18 ตำบล 709 หมู่บ้าน ประกอบด้วย เมืองหลวงมิตจีนา อำเภอมิตจีนา อำเภอพะโม (บะมอ) อำเภอปูตาโอ เมืองหลวงของรัฐชื่อ มิตจินา ประชากรส่วนใหญ่เป็นคะฉิ่น มีจำนวน 1.2 ล้านคน ความหนาแน่น 34 คน/ตารางไมล์ กลุ่มชาติพันธุ์ที่เรียกตนเองว่าคะฉิ่น ประกอบด้วยชนเผ่ากลุ่มย่อยๆ ที่สำคัญ 4 กลุ่ม ได้แก่ จิงเป่า ซึ่งมีจำนวนมากที่สุด รองลงไปคือ อัตซิ ลาชิ และมารู สามกลุ่มหลังอาศัยอยู่ใกล้ชายแดนจีน และมีภาษาพูดเป็นของตนเองที่แตกต่างจากกลุ่มที่อยู่ค่อนมาทางพม่า ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในดินแดนที่เป็นภูเขาและพื้นที่เนินเขา เพาะปลูกข้าวแบบไร่หมุนเวียนประชากร ศาสนาที่นับถือ ศาสนาพุทธ 57.8% คริสต์ 36.4% ภาษาที่ใช้คือ ภาษาพม่า ภาษาจิงผ่อ ภาษาระวาง ภาษาลีซอ ภาษาละเชก 
            ดินแดนนี้แต่ก่อนไม่ได้เป็นของกษัตริย์พม่าองค์ใด  เมื่ออังกฤษเข้าครอบครองพม่าคะฉิ่นก็ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งในตอนนั้น แต่มาถูกบุกรุกโดยจีนช่วง ค.ศ.1945-1947 กระทั่งมีการลงนามในสัญญาชายแดนระหว่างพม่ากับจีน ค.ศ.1960 สถานการณ์ยามนั้นค่อนข้างวุ่นวาย มีกลุ่มผู้ต่อต้านรัฐบาลในคะฉิ่น Kachin Independence Organization (KIO) ที่ตั้งขึ้นเมื่อพม่าเป็นอิสระจากอังกฤษ ก่อนการลงนามในสัญญาหยุดยิงกับรัฐบาลในปี 1993 อุตสาหกรรมป่าไม้ทำให้คะฉิ่นหนีไม่พ้นภัยธรรมชาติ เกิดปัญหาป่าไม้ถูกทำลายจำนวนมาก ภัยจากดินทลายและน้ำท่วมทำให้ประชาชนเสียชีวิตนับไม่ถ้วน ยาเสพติดยิ่งเป็นปัญหาสำคัญ เยาวชนจำนวนมากติดเฮโรอีน การใช้เข็มฉีดยาร่วมกันและการค้าประเวณีก็นำเอดส์มาแพร่กระจาย ที่คร่าชีวิตผู้ คน         

       
            อีกด้านคือการสู้รบระหว่างกลุ่มเล็กๆ โดยมี KIO เป็นกลุ่มใหญ่ มีการฝึกฝนหนักและรวบรวมกันได้มากที่สุดเพื่อรบกับกองกำลังรัฐบาล ทั้งสามารถจัดตั้งระบบการศึกษาและการแพทย์อย่างเป็นอิสระ กระทั่งลงนามหยุดยิง ปัจจุบันรัฐคะฉิ่นยังคงมีการบังคับใช้แรงงานสร้างถนน สนามบิน เขื่อน และมีนักโทษการเมืองอยู่ทั่วไป ทุกวันนี้เป็นพื้นที่ภายใต้อิทธิพลกองทัพประชาธิปไตยแห่งชาติกะฉิ่น (NDA Kachin) แม้บรรยากาศการเมืองจะอึมครึม แต่ก็มีความพยายามของนักธุรกิจที่จะสร้างรีสอร์ตรองรับนักท่องเที่ยว สำนักข่าวเอเอฟพีเคยรายงานข่าวทันตแพทย์ปายโซ นักธุรกิจจากย่างกุ้งผู้ก่อตั้งสมาพันธ์เดินป่าและปีนเขาแห่งพม่า จะสร้างสกีรีสอร์ตในระดับความสูง 11,500 ฟุต ของแนวยอดเขาพนกานราสี เขารับรองว่า "การต่อสู้ส่วนใหญ่ระหว่างชนกลุ่มน้อยนั้นจบลงแล้ว" แต่รัฐบาลพม่าก็ยังไม่มีนโยบายชัดเจนเกี่ยวกับแหล่งหิมะที่มี การเดินทางจึงไม่สะดวก เว้นแต่จะเป็นนักท่องเที่ยวและนักผจญภัยในเวลาเดียวกัน อ้างอิง : น้าชาติ ประชาชาติ


                   
                            ภาพ http://www.myanmar-explore.com
ชาวบ้าน ที่อาศัย หาของป่า และเป็นพรานป่า ในบริเวณเมือง เมืองปูเต

By : Anurak

1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ30 กันยายน 2554 เวลา 09:31

    ทางไปมรกตนคร ของแงซาย ในเพชรพระอุมา แน่ๆเลย

    ตอบลบ