จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันจันทร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2554

นาคา นักล่าหัวมนุษย์

นาคา นักล่าหัวมนุษย์  
        ชนเผ่า นาคา หรือ นากา  เป็นชื่อที่ผมคุ้นหูมาตั่งแต่เด็กๆ เมื่อยังเรียนอยู่ชั้น ประถม ว่าเป็นชนเผ่าที่ล่าหัวมนุษย์ ป่าเถื่อน น่ากลัว อยู่ในป่าลึกในดินแดนส่วนหนึ่งของพม่า แล้วความรู้นี้ก็เลือนลางหายไปกับกาลเวลา ...จนมาได้ดูภาพยนต์เรื่อง ตำนานสมเด็จพระนเรศวร มีกลุ่มชนเผ่ากลุ่มหนึ่งเข้ามาลอบสังหารพระนเรศวร ในสมองส่วนลึกก็บอกกับตัวเองได้เลยว่า นี่คงเป็น ชนเผ่าล่าหัวมนุษย์ นากา อย่างแน่นอน แล้วคำถาม ที่อยากรู้คำตอบอีกหลายอย่างที่เกี่ยวกับ ชนเผ่านากา ก็ผุดขึ้นมาอย่างมากมาย...
        นากาแลนด์ หลายคน รวมถึงผมเอง สงสัยว่าประเทศนี้อยู่ตรงไหน ? แม้ จะลงท้ายด้วยคำว่าแลนด์เหมือนชื่อประเทศทั่วไป แต่นากาแลนด์ไม่ใช่ประเทศ หากเป็นเพียงรัฐเล็กๆ ซึ่งตั้งอยู่บนเชิงเขาหิมาลัยทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย ด้านหนึ่งติดกับรัฐอัสสัมที่มีคนเชื้อสายตระกูลไท พูดภาษาไท คล้ายภาษาไทยทางภาคเหนือ อาศัยอยู่ และส่วนอีกด้านติดชายแดนประเทศพม่า


       รัฐอัสสัม (อัสสัม: অসম Ôxôm) เป็นรัฐทางตะวันออกเฉียงเหนือของสาธารณรัฐอินเดีย โดยมีเมืองหลวงคือ ทิสปุระ อยู่ในเขตเมืองคูวาหตี อยู่ทางตอนใต้ของหิมาลัยตะวันออก รัฐอัสสัมมีลุ่มแม่น้ำพรหมบุตร แม่น้ำพารัก และตำบลครรพี กับเขาจาชาร์เหนือ ปัจจุบันมีพื้นที่ 78,438 ตารางกิโลเมตร เกือบเท่ากับพื้นที่ของไอร์แลนด์ หรือออสเตรีย
รัฐอัสสัมรายล้อมด้วยรัฐพี่น้องทั้งเจ็ด อันได้แก่ อรุณาจัลประเทศ, นาคาแลนด์, มณีปุระ, มิโซรัม, ตริปุระ และ เมฆาลัย รัฐเหล่านี้เชื่อมต่อกับส่วนอื่นๆ ของอินเดีย โดยผ่านพื้นที่แคบ ในเบงกอลตะวันตก ที่เรียกว่า "คอไก่" อัสสัมยังมีชายแดนร่วมประเทศภูฏาน และบังคลาเทศ มีวัฒนธรรม ประชากร และภูมิอากาศในลักษณะเดียวกันกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันเป็นส่วนสำคัญของนโยบายมองตะวันออก ของอินเดียชาอัสสัม
         รัฐอัสสัมมีชื่อเสียงด้านแหล่งใบชา ปิโคตรเลียม ไหมอัสสัม และความหลากหลายทางชีวภาพ ทั้งนี้ยังประสบความสำเร็จในการอนุรักษ์แรดนอเดียว จากสภาพสูญพันธุ์ในอุทยานแห่งชาติกาจิรังคา (Kaziranga National Park), เสือใน อุทยานแห่งชาติมนัส (Manas National Park) และจัดหาแหล่งอาศัยสุดท้ายของสัตว์ป่าสำหรับช้างเอเชียด้วย อัสสัมเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นในฐานะแห่งท่องเที่ยวชมสัตว์ป่า และทั้งกาจิรังคาและมนัส ก็เป็นมรดกโลก นอกจากนี้ อัสสัมยังเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะป่าต้นสาละ และผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนลดลงมาก อัสสัมเป็นพื้นที่ซึ่งมีฝนตกชุก จึงมีพืชพรรณที่อุดมสมบูรณ์ มีแม่น้ำพรหมบุตร และลำน้ำสาขา กับทะเลสาบรูปเกือกม้า ที่ให้ความชุ่มชื้นและความสวยงามแก่ภูมิประเทศ


    
นากา เจ้าของดินแดนนี้เป็นชนเผ่ามองโกลอยด์ รูปร่างหน้าตาของชาวนากาจึงดูเหมือนชาวทิเบตมากกว่าชาวอินเดียซึ่งสืบเชื้อ สายมาจากพวกอารยัน วัฒนธรรมประเพณีและการนับถือศาสนาก็ต่างกัน
นา กาเป็นชนเผ่าอิสระมานานหลายพันปี แต่หลังจากสงครามโลกครั้งที่ ๒ อินเดียได้ส่งกำลังทหารบุกเข้ายึดครองดินแดนนากา และผนวกให้นากาแลนด์เป็นส่วนหนึ่งของอินเดียมาจนถึงปัจจุบัน
ชาวนา กาจำนวนมากจึงเข้าป่าจัดตั้งเป็นกองกำลังอิสระสู้รบกับกองทหารรัฐบาลอินเดีย มาตลอดระยะเวลาร่วม ๕๐ ปี เพิ่งจะมีการทำสัญญาหยุดยิงชั่วคราวเพื่อเจรจาสันติภาพเมื่อไม่กี่ปีมานี้

ไม่ ใช่เรื่องง่ายนักที่จะเดินทางเข้ามาที่นี่ เพราะนากาแลนด์ถือเป็นเขตควบคุมพิเศษ ทางการของอินเดียไม่ปรารถนาให้คนภายนอก โดยเฉพาะชาวต่างชาติ เข้ามารับรู้เรื่องราวของชาวนากามากนัก แม้คนอินเดียเองก็ยังต้องขออนุญาตเป็นกรณีพิเศษ จึงไม่แปลกอะไรที่โลกภายนอกแทบจะไม่รับรู้ถึงการมีอยู่ของนากาแลนด์ 

พื้นที่ ส่วนใหญ่ของนากาแลนด์ตั้งอยู่ในแนวเทือกเขาหิมาลัย บนความสูง ๖๐๐-,๘๐๐ เมตรจากระดับน้ำทะเล ยอดเขาบางแห่งอาจสูงกว่า ๓,๐๐๐ เมตร
     
รัฐ นากาแลนด์ถือเป็นเขตควบคุมพิเศษของประเทศอินเดีย เพราะที่ผ่านมายังมีการสู้รบระหว่างกองทหารฝ่ายรัฐบาลและกองกำลังกู้ชาติของ นากาแลนด์ ทางการอินเดียเพิ่งจะอนุญาตให้คนต่างชาติเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในรัฐนากา แลนด์ได้หลังจากมีการเจรจาสงบศึกชั่วคราวระหว่างทั้ง ๒ ฝ่ายเมื่อ ๘ ปีก่อน
 
นากาเป็นภาษาพม่า แปลว่า คนที่เจาะรูหู ในอดีตนิยมเจาะรูหู สวมต่างหูกันทุกคน
     
คำว่า “นากา” (naga) นี้มีคนให้นิยามไว้ต่างๆ กันไป บ้างก็ว่ามาจากภาษาสันสกฤต naga (นาค) บ้างก็ว่ามาจากภาษาฮินดี nanga (เปลือย) ฯลฯ แต่ชาวนากาส่วนใหญ่ เชื่อว่าคำนี้เป็นคำที่ชาวพม่าใช้เรียกชนผิวเหลืองกลุ่มหนึ่งที่นิยมสวมต่าง หูและอพยพหนีความแห้งแล้งหนาวเย็นจากภาคตะวันตกเฉียงเหนือของจีนลงมาอาศัย อยู่ทางตอนเหนือของพม่าตามลุ่มน้ำอิรวดี และต่อมาได้อพยพมาอยู่แถบเทือกเขาบริเวณชายแดนอินเดีย-พม่าจนถึงปัจจุบัน ขณะที่มีบางส่วนอพยพลงไปถึงคาบสมุทรมลายูและอินโดนีเซีย เชื่อกันว่าคนกลุ่มนี้คือบรรพบุรุษของชาวนากา



     “
บรรพบุรุษของนากาอพยพ มาตั้งรกรากอาศัยอยู่บริเวณนี้นับพันปี นากาเป็นชนเผ่านักรบ มีทั้งหมด ๖๖ เผ่า อาทิ เผ่าคอนยัก (Konyak) เผ่าอังกามิ (Angami) เผ่าเซียเลียงร็อง (Zialiangrong) บางเผ่ามีชื่อในการล่าหัวมนุษย์ มีการสู้กันระหว่างเผ่า พวกนากา อยู่กันอย่างอิสระในดินแดนแห่งนี้มาช้านาน”
     
นากาเป็นเผ่า นักรบ มีชื่อเสียงไม่ต่างจากนักรบของอินเดียนแดง นากาไม่ยอมให้ชนเผ่าใดบุกรุกเข้ามาในดินแดนของพวกเขา ดังนั้นเมื่อจักรวรรดินิยมอังกฤษเข้ามายึดครองอินเดียและพม่าเป็นอาณานิคม และส่งกำลังทหารเข้ามาเพื่อยึดครองดินแดนของพวกนากา จึงถูกต่อต้านอย่างหนักจากบรรดานักรบเผ่าต่างๆ
     
เหตุการณ์ ปะทะกันครั้งแรกของทหารอังกฤษกับชาวนากาเกิดขึ้นในปี ๒๓๗๕ กัปตันเจนกินส์และร้อยโทเพมเบอร์ตัน พร้อมด้วยทหารพื้นเมืองจากมณีปุระ ๗๐๐ นาย และลูกหาบอีก ๘๐๐ คน ได้บุกเข้าไปในดินแดนของนากาที่เรียกกันว่า นากาฮิลล์ เผ่าอังกามิซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่จึงนำนักรบเข้าต่อสู้กับกองทหารอย่างดุ เดือด
     
หลังจากนั้นการสู้รบก็เกิดขึ้นเรื่อยมาเป็นเวลาติดต่อกัน หลายสิบปี ระหว่างฝ่ายหนึ่งที่มีอาวุธปืน กับอีกฝ่ายที่มีเพียงดาบ ธนู และหอก ถึงกระนั้นอังกฤษก็ยังไม่สามารถเอาชนะนักรบนากาได้ จนถึงปี ๒๔๒๒ อังกฤษจึงส่งทหารครึ่งหมื่นพร้อมปืนใหญ่ บุกเข้ามาหวังเอาชนะขั้นแตกหักกับเผ่านากา
     
จาก การสู้รบครั้งนั้น ทำให้ทางการอังกฤษสามารถส่งกำลังทหารเข้าครอบครองดินแดนของนากาตามหัวเมือง บางแห่งไว้ได้ แต่ลึกเข้าไปในชนบทและในป่าเขา อังกฤษก็ยังไม่สามารถขยายอิทธิพลเข้าไปได้ ทุกครั้งที่ออกนอกพื้นที่ ทหารอังกฤษจะถูกซุ่มโจมตีจากนักรบนากา เรียกได้ว่าอังกฤษสามารถครอบครองดินแดนของชาวนากาได้เพียง ๓๐ เปอร์เซ็นต์เท่านั้น 







     
เมืองโคฮิมาตั้งอยู่บนเขาสูงแทบไม่มีพื้นที่ราบ หน้าตาของเมืองห่างไกลความเป็นเมืองหลวงอยู่มาก คงเพราะโคฮิมาเป็นเพียงเมืองหลวงของรัฐเล็กๆ ที่แทบไม่มีใครเคยรู้ว่าอยู่ตรงไหนของโลก
     
ชะตากรรมของชาวนากาคงไม่ต่างอะไรกับชาวอินเดียนแดงในทวีปอเมริกาเหนือ ที่อพยพจากทวีปเอเชียข้ามช่องแคบเบริงในอะแลสกามาตั้งรกรากบนดินแดนอันกว้าง ใหญ่ไพศาลอย่างสงบสุขเป็นเวลาหลายพันปี จนเมื่อคนขาวจากทวีปยุโรปได้ค้นพบทวีปแห่งนี้ ก็เริ่มรุกรานและใช้กำลังทหารยึดครองดินแดนอันอุดมสมบูรณ์ของอินเดียนแดงจน เกิดการสู้รบอย่างดุเดือดเป็นเวลานับร้อยปี
 
คนนากาสั่งสอน ลูกหลานมาตลอดเพื่อไม่ให้ลืมว่าพวกเขาเป็นเจ้าของดินแดนแห่งนี้ แม้จะถูกทหารอังกฤษคุกคามและครอบครองดินแดนบางส่วนอยู่นานปี แต่อังกฤษก็ไม่เคยมีชัยชนะเหนือนากาได้อย่างเด็ดขาด และหากรัฐบาลอินเดียผิดสัญญา หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ พวกเขาก็จะเป็นไทแก่ตนเองอย่างแท้จริง
     
เกือบ ๖๐ ปีก่อน เมื่ออังกฤษเตรียมมอบเอกราชคืนให้แก่อินเดีย องค์กรปฏิวัติของนากา ภายใต้การนำของ “ปิโซ” ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาของชาวนากา” ได้จัดตั้งรัฐบาลชั่วคราวขึ้น และเจรจากับผู้แทนของอินเดียในปี ๒๔๙๐ จนได้ข้อสรุปว่า ชาวนากาจะปกครองตนเองภายใต้การดูแลของอินเดียเป็นเวลา ๑๐ ปี และหลังจากนั้นชาวนากาทั้งหมดจะลงประชามติว่าจะอยู่กับอินเดียต่อไปหรือขอ เป็นเอกราช
     
แต่หลังจากนั้นไม่กี่เดือน รัฐบาลอินเดียภายใต้การนำของ ยวาหระลาล เนห์รู กลับฉีกสัญญานี้ทิ้ง และขู่ว่าหากนากาไม่ยอมผนวกดินแดนของตนเข้ากับอินเดีย จะส่งกำลังเข้ายึดครอง ตัวแทนของรัฐบาลนากาจึงเดินทางไปพบ มหาตมะ คานธี ที่บ้านพักในเดลี คานธีได้ยืนยันว่า “ชาวนากามีสิทธิ์ทุกประการที่จะมีเอกราช ถ้าพวกท่านไม่ปรารถนาจะอยู่ร่วมกับอินเดีย ไม่มีใครจะบังคับท่านได้”
ชาวนากาจึงประกาศเอกราชตั้งประเทศใหม่ เมื่อวันที่ ๑๔ สิงหาคม ๒๔๙๐ โดยใช้ชื่อประเทศว่า นากาแลนด์ ก่อนอินเดียจะประกาศเอกราชเพียงวันเดียว
     
เมื่อ ทางการอินเดียขู่จะใช้กำลังทหารกับชาวนากา มหาตมะ คานธี ได้กล่าวตำหนิผู้นำรัฐบาลอินเดีย และกล่าวว่า “ข้าพเจ้าจะเดินทางไปนากาแลนด์ บอกให้ทหารอินเดียยิงข้าพเจ้าเป็นคนแรกก่อนที่จะมีชาวนากาคนใดถูกยิง”
     
อย่าง ไรก็ตาม หลังจากที่ มหาตมะ คานธี ถูกลอบสังหารในปี ๒๔๙๑ รัฐบาลอินเดียก็จัดการส่งกองทหาร ๑๕๐,๐๐๐ คนเข้ายึดครองและทำการผนวกนากาแลนด์เข้าเป็นรัฐหนึ่งของอินเดีย พร้อมกับจัดตั้งรัฐบาลแห่งรัฐนากาแลนด์ขึ้นภายใต้การควบคุมของอินเดีย
     
๑๖ พฤษภาคม ๒๔๙๔ ชาวนากาได้ร่วมใจกันลงประชามติว่าจะยอมขึ้นกับอินเดียหรือแยกเป็นประเทศ เอกราช ปรากฏว่าร้อยละ ๙๙.๙ บอกว่าต้องการเป็นเอกราช แต่รัฐบาลอินเดียก็ไม่สนใจ ยังคงส่งกำลังทหารเข้าปราบปรามผู้ไม่เห็นด้วย ขณะที่ชาวนากาก็ทำการต่อต้านด้วยการไม่ยอมเสียภาษีและไม่ไปลงคะแนนในการ เลือกตั้งทั่วไปที่รัฐบาลอินเดียจัดขึ้น
     
น่าแปลกใจที่อินเดียซึ่ง ถือเป็นประเทศใหญ่ที่สุดในโลกที่มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ทั้งยังเคยถูกอังกฤษปกครองมาเป็นเวลาหลายร้อยปี น่าจะเข้าใจดีถึงความเจ็บปวดของการตกเป็นเมืองขึ้นและเข้าใจถึงหัวอกของชน ชาติที่ต้องต่อสู้เพื่ออิสรภาพ แต่กลับใช้วิธีการเดียวกับอังกฤษเมื่อครั้งบุกยึดอินเดีย กระทำต่อชาวนากา
     
ที่ ประหลาดกว่านั้นก็คือ เมื่อรัฐบาลจีนส่งกำลังทหารเข้ายึดครองทิเบตและปราบปรามชาวทิเบตอย่างโหด ร้ายในอีก ๓ ปีต่อมา เพื่อผนวกดินแดนนี้ให้เป็นส่วนหนึ่งของจีน ยวาหระลาล เนห์รู นายกรัฐมนตรีของอินเดีย กลับกล่าวสนับสนุนการต่อสู้เพื่ออิสรภาพของชาวทิเบต และประกาศว่าทิเบตไม่ใช่ของจีน ชาวทิเบตมีสิทธิที่จะเลือกอนาคตของตัวเอง
     “
ตลอดระยะเวลาร่วม ๕๐ ปีหลังจากเหตุการณ์ครั้งนั้น ทหารอินเดียได้เผาหมู่บ้าน ปล้น ฆ่า ข่มขืนผู้หญิง จนชาวนากาล้มตายไปหลายแสนคน นี่เป็นสาเหตุที่ทำให้ชาวนากาต้องลุกขึ้นสู้กับทหารอินเดียมาจนถึงปัจจุบัน”
     
จาก เรื่องราวเหล่านี้ จึงไม่แปลกอะไรที่ชาวนากาจะรวมตัวกันต่อต้านทหารอินเดีย จนกลายเป็นกองกำลังปฏิวัติอันเข้มแข็ง ยากที่ฝ่ายอินเดียจะเข้าจัดการได้
     
กอง ทหารอินเดียที่เรียกว่า “Assam Rifles” ถือเป็นหน่วยรบพิเศษชื่อดังของอินเดีย (คล้ายกับหน่วยรบพิเศษป่าหวายของบ้านเรา) เป็นกองทหารหลักที่รัฐบาลอินเดียส่งเข้าไปสู้รบกับนักรบชาวนากา แม้ทหารอินเดียจะมีอาวุธอันทันสมัยและกำลังที่เหนือกว่า แต่สงครามกลางเมืองก็ดำเนินมาร่วม ๕๐ ปีโดยที่กองทหารอินเดียไม่อาจจะปราบปรามกองกำลังปฏิวัติของชาวนากาได้เด็ด ขาด ในที่สุดทั้งสองฝ่ายจึงยอมสงบศึกในปี ๒๕๔๐ เพื่อเปิดการเจรจาสันติภาพ หาหนทางที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติ หลายครั้งที่ทั้งสองฝ่ายบินมาเจรจาในประเทศไทยอย่างเงียบๆ ถึงปัจจุบัน แม้การเจรจาจะยังไม่มีข้อยุติ แต่ตราบใดที่ยังมีการเจรจา ทั้งสองฝ่ายก็มีข้อตกลงที่จะไม่สาดกระสุนเข้าใส่กันเหมือนเช่นในอดีต

    
นักรบแห่งนากานิยมเต้นระบำเพื่อเรียกขวัญและกำลังใจก่อนออกทำสงคราม พวกเขาจะแต่งตัวเต็มที่ด้วยผ้าฝ้ายทอมือหลากสี สวมหมวกประดับด้วยเขี้ยวหมูป่า ขนนกเงือก นกศักดิ์สิทธิ์ของชาวนากา สวมสร้อยคอประดับด้วยงาช้างและเล็บเสือ มือสองข้างถือหอก โล่ไม้ไผ่หุ้มหนังหมี และมีดเหล็กหัวตัดที่เรียกว่า เดา (dao) เอาไว้ตัดหัวศัตรู คล้ายกับนักรบอินเดียนแดงผู้ใช้มีดสั้นถลกหนังหัวศัตรู
     
คน ภายนอกรู้จักชาวนากาเป็นอย่างดีในฐานะชาตินักรบผู้ล่าหัวมนุษย์ ในอดีต ทุกครั้งที่นักรบนากาออกทำสงครามกับศัตรู ไม่ว่าจะเป็นชาวนากาต่างเผ่า ทหารอังกฤษ หรือทหารอินเดียผู้รุกราน นักรบเหล่านี้จะทำการรบอย่างห้าวหาญ พวกเขาจะตัดหัวศัตรูนำกลับมาหมู่บ้านเพื่อแสดงชัยชนะ เมื่อการรบสิ้นสุดลง ผู้คนในหมู่บ้านจะจัดงานเลี้ยงฉลองใหญ่เพื่อแสดงความเคารพแด่นักรบผู้กล้า หาญเหล่านี้
     
ปัจจุบัน แม้ประเพณีการตัดหัวศัตรูถูกยกเลิกไปนานแล้ว แต่ตามชนบทที่ห่างไกลก็ยังมีข่าวการตัดหัวศัตรูอยู่เป็นระยะ ล่าสุดในปี ๒๕๓๔ ตอนรุ่งสางของวันหนึ่ง นักรบเผ่าคอนยัก ๖๐๐ คนได้บุกเข้าโจมตีหมู่บ้านของเผ่าชางที่ขัดแย้งกันมานาน โดยพวกชางไม่ทันได้ตั้งตัว เพียงไม่กี่ชั่วโมง นักรบคอนยักก็ใช้มีดเดาตัดหัวศัตรูนำกลับหมู่บ้านของตัวเองถึง ๒๘ หัว
     
ฝีมือและยุทธวิธีการรบของนักรบนากาจึงเป็นที่เกรงขามของทหารอินเดียมาจนถึงวันนี้
     “
ทหาร นากาเก่งในการทำสงครามกองโจร หลายสิบปีที่ผ่านมา ทหารอินเดียจึงไม่สามารถเอาชนะเราได้เด็ดขาด เพราะยุทธวิธีของเรามีหลากหลาย และเราไม่เคยเปิดสงครามเต็มรูปแบบกับทหารอินเดีย นอกจากสงครามกองโจรที่เรามีความชำนาญในพื้นที่มากกว่า” มาร์กเซน รอง ผบ. ทหาร บุคคลที่ทางการอินเดียต้องการตัวมากที่สุดคนหนึ่ง ยอมรับว่าที่ผ่านมาทหารนากาได้รับความช่วยเหลือทางการเงินและอาวุธจากประเทศ จีนที่มีเขตแดนติดต่อกัน ทั้งยังมีการส่งทหารนากาไปฝึกยุทธวิธีกองโจรอันเลื่องชื่อของประธานเหมาเจ๋อ ตุง ผู้นำจีน เจ้าของสโลแกน “เอ็งมา ข้ามุด เอ็งหยุด ข้าแหย่ เอ็งแย่ ข้าตี”\
      ร้อย ละ ๙๐ ของชาวนากามีอาชีพทางการเกษตร ส่วนใหญ่ปลูกข้าวและทำไร่ข้าวโพด อ้อย มันฝรั่ง ยาสูบ ฯลฯ พื้นที่ส่วนเคยเป็นป่าใหญ่มาก่อน แต่ถูกเผาทิ้งและโค่นถางเพื่อทำไร่เลื่อนลอย ชาวนากาจะทำไร่ในพื้นที่เดิมประมาณ ๒ ปี เมื่อดินจืดหมดสภาพก็จะบุกรุกถางป่าเพื่อเปิดพื้นที่ทำไร่ต่อไป อันเป็นสาเหตุที่ทำให้พื้นที่ป่าในนากาแลนด์ลดน้อยลงไปทุกที
     “
นักธรณีวิทยาเคยมาสำรวจ พบว่า นากาแลนด์มีแร่ธาตุที่ยังไม่ได้ขุดขึ้นมาใช้ประโยชน์อีกมาก อาทิ หินปูน ถ่านหิน ทองคำ หยก น้ำมัน ยูเรเนียม ”
นากาแลนด์เพิ่งมีโรงไฟฟ้าพลังน้ำแห่งแรกเมื่อปี ๒๕๒๑ ทุกวันนี้ไฟฟ้าเข้าถึงหมู่บ้านที่ห่างไกลได้เพียงไม่กี่แห่ง เพราะเส้นทางที่ทุรกันดาร ความยากจน และการสู้รบที่เกิดขึ้นตลอด แม้ว่าชาวนากาส่วนใหญ่มักอาศัยอยู่ตามชนบท ไม่ได้กระจุกตัวอยู่ตามหัวเมืองก็ตาม
     “
ชาวนา กานิยมสร้างเมืองอยู่บนยอดเขา เพราะมันเป็นชัยภูมิที่ดีในการป้องกันตัว คนในเมืองสามารถมองเห็นได้รอบว่าข้าศึกยกทัพมาจากทิศใด”
     
คนที่เคยไปเยือนดินแดนบนเทือกเขา หิมาลัยไม่ว่าจะเป็น ลาซา เมืองหลวงของทิเบต หรือสิกขิมในอินเดีย คงพอนึกถึงทัศนียภาพของเมืองบนภูเขาเหล่านี้ได้ โคฮิมาที่เราได้เห็นตั้งอยู่บนเขาสูงแทบจะไม่มีที่ราบ อาคารบ้านเรือนสร้างขึ้นแออัดตามไหล่เขา แม้ในช่วงต้นฤดูใบไม้ผลิเช่นนี้ อุณหภูมิของเมืองบนเขาสูงอย่างโคฮิมายังไม่เกิน ๑๐ องศาเซลเซียส เราจึงเห็นผู้คนชาวนากาห่อกายด้วยผ้าผืนหนาหลากสี หากเรามาในฤดูหนาว อุณหภูมิอาจลดลงถึง ๔ องศา และบนยอดเขาอุณหภูมิอาจต่ำลงได้ถึงจุดเยือกแข็งจนมีหิมะปกคลุม
     
โคฮิ มาอาจเป็นเมืองสวยงามไม่กี่แห่งในโลกที่บรรดานักท่องเที่ยวยังเดินทางมาไม่ ถึง จากการเป็นเมืองต้องห้ามของคนภายนอกมาตลอดระยะเวลา ๕๐ ปี
 
ชาวนาการ้อยละ ๖๐ จึงนับถือนิกายแบ็ปติสต์ ที่เหลือเป็นคาทอลิก มุสลิม และฮินดู”
     
น่า ทึ่งกับความมุมานะและทุ่มเทของบรรดามิชชันนารีที่อุตส่าห์ข้ามน้ำข้ามทะเลมา เผยแผ่ศาสนาบนดินแดนของนักล่าหัวมนุษย์ที่เคยนับถือภูตผีวิญญาณ มีหมอผีเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณ จนสามารถเอาชนะใจคนเหล่านี้
     “
เบื้อง หลังความสำเร็จของพวกมิชชันนารีในการเผยแผ่ศาสนา ก็คือความเสียสละของพวกเขาที่มีต่อชาวนากา ไม่ว่าจะเป็นการช่วยเหลือทางการแพทย์ อาหาร และความรู้ที่พวกเขานำติดตัวมาด้วย นี่เป็นเครื่องมือสำคัญที่ทำให้ชาวนากาเผ่าต่างๆ ยอมรับหมอสอนศาสนา และหันมานับถือพระเจ้าในเวลาต่อมา”



























อันที่จริงนากาแลนด์เป็น พื้นที่ปลอดแอลกอฮอล์มาช้านาน เพราะชาวนากาส่วนใหญ่เป็นแบ็ปติสต์ผู้เคร่งศาสนา ตามถนนหนทางจึงไม่มีไนต์คลับ ผับ บาร์ แม้แต่ร้านอาหารก็ไม่จำหน่ายเหล้า เบียร์ การตั้งวงดื่มเหล้าจึงจำกัดอยู่ในบ้านเรือน และการซื้อขายเครื่องดื่มก็ทำกันอย่างเงียบๆ ในตลาดมืด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเหล้าผิดกฎหมายที่นำเข้ามาจากอินเดีย
     
การแอบกินเบียร์พื้นบ้านจึงเป็นความสุขเล็กน้อยของชาวนากา ในสถานการณ์ที่ยังไม่รู้ว่าสงครามจะเกิดขึ้นอีกหรือไม่
    
อาหารชั้นเลิศ ไม่ใช่เนื้อหมู แต่เป็นเนื้อหมาที่หาค่อนข้างยาก” จึงไม่น่าแปลกทำไมจึงไม่เห็นหมาสักตัวตามท้องถนนหรือในหมู่บ้านเลย

                                           
                                                                                                                      Anurak
ที่มา   : ศานติ จรัสแสง นิตยสาร สารคดี 
          : นากาแลนด์  วิกิพีเดีย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น